เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
เพราะเป็นผู้ละความหวั่นไหวได้แล้ว จึงชื่อว่าไม่หวั่นไหว บุคคลนั้นย่อมไม่
หวั่นไหว ไม่สะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้าน เพราะได้ลาภ เพราะ
เสื่อมลาภบ้าง เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ เพราะนินทาบ้าง
เพราะสุข เพราะทุกข์บ้าง จึงชื่อว่าไม่หวั่นไหว
คำว่า สม่ำเสมอในอายตนะทั้งปวง อธิบายว่า อายตนะ 12 ตรัสเรียกว่า
สิ่งทั้งปวง คือ ตาและรูป... ใจและธรรมารมณ์
เมื่อใด ความกำหนัดด้วยความพอใจในอายตนะทั้งภายในและภายนอก บุคคลใด
ละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ บุคคลนั้นตรัสเรียกว่า สม่ำเสมอใน
อายตนะทั้งปวง เขาเป็นผู้มั่นคงในอายตนะทั้งปวง มีตนเป็นกลางในอายตนะทั้งปวง
วางเฉยในอายตนะทั้งปวง รวมความว่า ไม่หวั่นไหว สม่ำเสมอในอายตนะทั้งปวง
คำว่า เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่หวั่นไหว จึงบอกอานิสงส์นั้น อธิบายว่า
เราถูกถามถึง คือ ถูกขอ ถูกเชื้อเชิญ ถูกขอให้แสดงบุคคลผู้ไม่หวั่นไหว จึงบอก
อานิสงส์ 4 เหล่านี้ คือ กล่าว บอก... ประกาศว่า บุคคลผู้ไม่ริษยา ไม่ติดใจ
ไม่หวั่นไหว สม่ำเสมอในอายตนะทั้งปวง รวมความว่า เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่
หวั่นไหว จึงบอกอานิสงส์นั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ติดใจ
ไม่หวั่นไหว สม่ำเสมอในอายตนะทั้งปวง
เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่หวั่นไหว จึงบอกอานิสงส์นั้น
[188] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
อภิสังขารไร ๆ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ่มแจ้ง
เขางดเว้นแล้วจากการปรารภอภิสังขาร
ย่อมมองเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง
คำว่า ผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ่มแจ้ง อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความหวั่นไหว
คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :531 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
ตัณหาที่ตรัสเรียกว่า ความหวั่นไหว นี้ บุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว
ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว บุคคล
นั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่หวั่นไหว
เพราะเป็นผู้ละความหวั่นไหวได้แล้ว จึงชื่อว่าผู้ไม่หวั่นไหว บุคคลย่อมไม่หวั่นไหว
คือ ไม่สะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้าน เพราะได้ลาภ เพราะเสื่อม
ลาภบ้าง เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ เพราะนินทาบ้าง เพราะสุข
เพราะทุกข์บ้าง รวมความว่า ผู้ไม่หวั่นไหว
คำว่า รู้แจ่มแจ้ง ได้แก่ รู้ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง คือ รู้เฉพาะ แทงตลอดว่า "สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์"...
รู้ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง คือ รู้เฉพาะ แทงตลอดว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็น
ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา" รวมความว่า ผู้ไม่หวั่นไหว
รู้แจ่มแจ้ง
คำว่า อภิสังขารไร ๆ ย่อมไม่มี อธิบายว่า ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร
อาเนญชาภิสังขาร ตรัสเรียกว่า อภิสังขาร
ปุญญาภิสังขาร1 อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร เขาละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้
ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ด้วยเหตุใด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อภิสังขารทั้งหลาย
ย่อมไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ คือ อภิสังขารเขาละได้แล้ว ตัดขาด
ได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว
รวมความว่า อภิสังขารไร ๆ ย่อมไม่มี
คำว่า เขางดเว้นแล้วจากการปรารภอภิสังขาร อธิบายว่า ปุญญาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร ตรัสเรียกว่า อภิสังขาร ปุญญาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร เขาละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ด้วยเหตุใด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เขาเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถข้อ 25/108

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :532 }